ไม่เสียภาษีก็ไม่ต้องยื่นภาษีใช่ไหม

ต้องยื่นภาษีด้วยไหม ถ้าไหนๆ ก็ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว เพราะรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ เรื่องสำคัญที่คนมีเงินเดือนน้อยจำเป็นต้องรู้ !

หลายคนมีความสงสัยเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่า ถ้าตัวเองมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว เรายังจะต้องยื่นภาษีต่อกรมสรรพากรอยู่หรือเปล่า ? ยิ่งบางคนมีเงินเดือนน้อย ๆ หรือเพิ่งจบมาทำงานใหม่ ๆ อาจไม่เคยยื่นภาษีเลย ฉะนั้นมาหาคำตอบไปด้วยกัน

ฤดูกาลยื่นภาษีมาแล้ว การเสียภาษีถูกระบุไว้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษี ตามกฎหมายระบุให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือ คนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ ต้องยื่นแบบเงินได้พึงประเมิน

สรุปแล้วใครที่ต้องยื่นภาษีบ้าง?

  1. ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือนค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น

(ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
– กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
– กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 120,000 บาท

  1. ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น

(ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
– กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 120,000 บาท
– กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกันเกิน 220,000 บาท

  1. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 60,000บาท
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 60,000 บาท

ส่วนคำถามที่ว่า ทำไมเงินเดือนไม่เกิน 10,000 ไม่ต้องยื่นภาษี?

ที่กฎหมายกำหนดแบบนี้เพราะมีที่มา คือ ถ้าเราได้รับเงินเดือนรวมตลอดทั้งปี 120,000

  • สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนที่เราได้รับ นั่นคือ 60,000
  • เมื่อเราเป็นผู้มีเงินได้กฎหมายจึงมอบค่าลดหย่อนส่วนตัวให้ 60,000 อยู่แล้ว

เท่ากับว่า มีเงินได้สุทธิ 0 บาท จึงไม่มีค่าภาษีต้องเสียเพิ่มอยู่แล้ว ฉะนั้น ใครที่มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีครับ

ถ้าเงินเดือนไม่น่าจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แล้วจะมีเหตุผลจำเป็นอะไรที่ทำให้ต้องเสียเวลายื่นภาษี?

  1. สบายใจ ไม่โดนตรวจสอบย้อนหลัง

เพื่อความสบายใจว่าทำถูกต้องตามกฎหมาย ไร้ความกังวลว่าจะโดนสรรพากรเรียกไปตรวจสอบหรือเปล่า? จะโดนภาษีย้อนหลังหรือไม่? และไม่เสี่ยงต่อการเลี่ยงภาษี และแม้ว่ารายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แต่ดันไม่ได้ยื่น จนถูกเรียกตรวจสอบที่สำนักงานสรรพากร ก็ต้องเสียเวลาเพื่ออธิบายให้ทางสรรพากรอีกว่าไม่ได้หลบเลี่ยงหนีภาษี

  1. มีหลักฐานเผื่อการทำธุรกรรมในอนาคต

ในอนาคตไม่มีทางรู้ว่าต้องกู้เงินหรือทำธุรกรรมอะไรบ้าง การมีหลักฐานเพื่อยืนยันรายได้ที่ชัดเจนซึ่ง คือแบบภาษี ภงด. 90/91 เป็นเอกสารที่สำคัญและเชื่อถือได้เพื่อยืนยันว่ามีรายได้สูงพอ สำหรับยื่นต่อธนาคารเพื่อประกอบการกู้เงิน

แล้วถ้าใครเป็นฟรีแลนซ์ รับงานอิสระยิ่งต้องยื่นภาษีเลย เพราะ ภงด. 90/91 จะเป็นเอกสารยืนยันรายได้แทนสลิปเงินเดือนได้ ทำให้มีเครดิตในการกู้เงินหรือทำธุรกรรมได้เช่นกัน

  1. มีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ

เพราะเงินที่สรรพากรจัดเก็บนั้นก็จะถูกส่งเข้าเป็นงบประมาณการคลังสำหรับบริหารประเทศ เพราะฉะนั้นทุกการจ่ายภาษี หมายถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ปัญหา และถึงแม้จะไม่อยากจ่ายภาษีเพราะอาจเห็นว่ารัฐใช้เงินไปกับเรื่องที่ไม่เห็นด้วยหรืออาจไม่ชอบใจ แต่เราจะหลบเลี่ยงทำผิดกฎหมายเสียเองก็ไม่ได้เช่นกัน ถ้าไม่อยากจ่ายภาษีก็หาค่าลดหย่อนมาช่วยลดภาระตรงนี้ไป เพราะก็เป็นสิทธิที่รัฐมีทางเลือกมาให้สามารถใช้ได้ทุกคนตามเงื่อนไข และข้อมูลการยื่นภาษี ทั้งที่ต้องเสียภาษีและไม่เสียภาษีก็ตามนั้น ก็จะเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขรายได้ของประชากรที่รัฐสามารถเอาไปวิเคราะห์ได้หลายอย่างเพื่อการบริหารประเทศนั่นเอง

แล้วถ้าไม่ยื่นภาษีหล่ะ?

  1. การไม่ยื่นภาษีคือการทำผิดกฎหมายและมีโทษ คือ

– ถ้ารายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่ยื่นภาษี หากมีการตรวจเจอจะโดนค่าปรับ 2,000 บาท (ปรับจริงๆ แค่ 200 บาท)

– ถ้ารายได้ถึงเกณฑ์ แต่ไม่ยื่นภาษี หากมีการตรวจเจอ จะโดนค่าปรับ 2,000 บาท (ซึ่งจริง ๆ ก็เสีย 200 บาทเช่นกัน) บวกกับดอกเบี้ยร้อย 1.5 % ต่อเดือน หรือ 18% ต่อปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่หมดเขตยื่นภาษีถึงวันที่เพิ่งมายื่นภาษี

  1. ไม่ได้เงินคืน

ในกรณีที่บริษัทหวังดีหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินไป แต่กลับไม่ได้ยื่นแบบชำระภาษี ก็จะพลาดได้เงินที่ถูกหักคืนกลับมา

ยัง ยังไม่จบ ยังมีคำถามต่ออีกว่า

ทำไมต้องยื่นภาษีเองอีก ในเมื่อกรมสรรพากรก็มีข้อมูลเราอยู่แล้วจากที่บริษัทส่งให้?

คำตอบคือ ได้รู้และทำหน้าที่ของตัวเองในฐานะพลเมือง มันอาจฟังดูโลกสวย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนเป็นพลเมืองที่อยู่ภายใต้กฎหมายที่กำหนดบทบาทหน้าที่ไว้ชัดเจน

และที่สำคัญคือสิทธิการรับเงินคืน ในกรณีที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินไป หรือมีรายการลดหย่อนแล้วขอคืนภาษีได้ ถ้าไม่ได้ยื่นภาษีก็จะพลาดได้เงินที่ถูกหักหรือลดหย่อนคืนกลับมา

พูดง่าย ๆ คือสรรพากรไม่ตามทำจ่ายเงินให้คนที่ต้องได้เงินคืนหรอก แต่คนที่รายได้เกินต้องจ่ายภาษีเพิ่มก็จะโดนตามมาให้จ่ายเพิ่ม เพราะฉะนั้นจึงต้องยื่น

ทุกวันนี้การยื่นภาษีไม่ใช่เรื่องลำบากอะไรอีกต่อไปแล้ว คือสามารถยื่นออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ E-Filing แถมวิธีการสะดวกเพราะมีคำแนะนำภายในเว็บไซต์ และยังมีข้อดีคือจะได้รู้ฐานการชำระภาษีของตัวเอง รู้จักวางแผนการเงินในปัจจุบันและอนาคต และยังมีสิทธิได้เงินคืนอีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเงินเดือนเท่าไหร่ก็ตาม ก็จำเป็นต้องยื่นภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ธุรกิจเฉพาะ VS เงินได้นิติบุคคล

🚩ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการที่มีรายได้จะต้องยื่นภาษี ซึ่งมีอัตรา เสียภาษีสูงสุด 20% โดยภาษีนิติบุคคลนั้นจะแบ่งเป็น

ดอกเบี้ยบ้าน ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา !!

ดอกเบี้ยบ้าน หรือดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยสามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ สูงสุดปีละ 100,000 บาท ถ้ามีผู้ร่วมกู้ด้วย

บริการรับทำบัญชี #ร้านทอง

บริการรับทำบัญชี #ร้านทอง ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์โดยตรง บริการบัญชีครบวงจร สนใจติดต่อได้เลยค่ะ